เปิดเมื่อ26/03/2012
อัพเดท29/11/2012
ผู้เข้าชม355566
แสดงหน้า925784
จำนวนสินค้า2

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

พิมพ์หมายเลข EMS 13 หลัก โดยไม่ต้อง
เว้นวรรคแล้วกดปุ่ม Search

รายละเอียดเพิ่มเติม
คำปรารถจากผู้เขียน
แบ่งปันให้เพื่อน เมื่อ 16/04/2012 อ่าน 4012 | ตอบ 0
คำปรารภ
(วิธีพิจารณา หลักเกณฑ์สาระสำคัญ การจัดหา จัดทำ และบริหารสัญญา
ของระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการพัสดุ “เล่ม 2 ฉบับสมบูรณ์” รวม 262หน้า (เล่ม 1  134 หน้า) )
 
                                สืบเนื่องจากคำบรรยายเกี่ยวกับหลักการและวิธีพิจารณาวินิจฉัยข้อหารือกับวิธีจัดทำบริหารสัญญา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ได้รับความสนใจและถือเป็นตำราใช้เป็นแนวทางปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่พัสดุทั้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ มหาวิทยาลัย ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจกันอย่างกว้างขวาง และมีผู้สอบถามปัญหาสำคัญต่าง ๆ ในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติมาทั่วประเทศ และผู้เขียนในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดี และอธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด ผู้ตรวจราชการอัยการ ได้ทำหน้าที่ในการตอบข้อหารือและพิจารณาตรวจร่างสัญญา เคยเป็นที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปรับปรุงระบบการบริหารพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรมบัญชีกลาง และปัจจุบันนี้ยัง        ทำหน้าที่เป็นกรรมการกลั่นกรองปัญหาการพัสดุ (กวพ.) และอนุกรรมการ กวพ. ของสำนักนายกรัฐมนตรี (เดิม) และกรมบัญชีกลาง กับเป็นวิทยากรบรรยายให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ มหาวิทยาลัย และรัฐวิสาหกิจ มาตลอดนานนับ 10 ปี ทำให้เข้าปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวได้ดี ว่า มีปัญหาทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติมาก ทั้งมีปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาให้ต้องแก้ปัญหาอยู่เสมอ และบางเรื่อง กวพ. ต้องวางแนวปฏิบัติเพื่อวิวัฒนาการให้ทันต่อเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมปัจจุบัน บางครั้งการวินิจฉัยในคณะกรรมการ กวพ. ต้องวางหลักการใหม่ กลับหลักการเดิม เช่น เรื่อง กรณีการจัดหาต้อง “ทราบยอดเงิน” ก่อน จึงจัดหาได้ เช่นโครงการ Mega Project “การเช่าวงจรสื่อสัญญาณและการเช่าใช้บริการอินเตอร์เน็ต” ต้องปฏิบัติตามระเบียบ            สำนักนายกฯ พ.ศ. 2535 เป็นต้น ทำให้ผู้เขียนทราบและเข้าใจปัญหาของเจ้าหน้าที่พัสดุในการจัดหาพัสดุ ซึ่งต้องเสี่ยงต่อการปฏิบัติผิดระเบียบ อาจต้องถูกลงโทษทางวินัย และความรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา
                                ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้เขียนจึงได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ปรับปรุงคำบรรยายฉบับเดิม เป็น ฉบับใหม่ “เล่มที่ 2” ให้เป็น “ฉบับสมบูรณ์” ยิ่งขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมเกือบทุกปัญหา และใช้เป็นหนังสือหรือตำราให้ “ผู้ปฏิบัติงาน” เกี่ยวกับการจัดหาจัดพัสดุ ได้ไปใช้งานและแก้ปัญหาการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งผู้เขียนพยายามจะเขียนโดยใช้ภาษาง่าย ๆ และเข้าใจง่าย ๆ แก่ผู้อ่าน เพื่อสะดวกแก่การปฏิบัติงานโดยผู้เขียนจะมีข้อกำหนดของระเบียบ มติ ครม. กฎหมาย คำวินิจฉัยข้อหารือของ กวพ. อัยการสูงสุด และคำพิพากษาฎีกา อ้างประกอบคำบรรยายนี้ด้วย
                                อนึ่ง “คำบรรยายเล่มที่ 2 เป็นฉบับสมบูรณ์” นี้ได้พยายามเขียนให้ครอบคลุมทุกปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของระเบียบตลอดจนวิธีปฏิบัติงานจัดทำและบริหารสัญญาทุกปัญหาที่ผู้เขียนพบเห็นในปัญหาวินิจฉัยข้อหารือของคณะกรรมการ กวพ. และที่ผู้ปฏิบัติงานจัดหาพัสดุ            ทั่วประเทศได้สอบถามมา ซึ่งผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานได้ง่าย ๆ ถึงแม้ต่อมาจะมีการ “แก้ไขยกเลิกระเบียบเก่าออกระเบียบใหม่” ก็ตาม เพราะคำบรรยายที่เขียนนี้ ผู้เขียนได้เขียนเป็นเชิงประยุกต์ในทางปฏิบัติมากกว่าทางทฤษฎี ประกอบด้วยเหตุผลของข้อกำหนดของระเบียบ ทำไม จึงกำหนดเช่นนั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานได้ตลอด เพราะเท่าที่ผู้เขียนได้เห็นการแก้ไขระเบียบใหม่แล้ว แม้จะแก้ไขเป็นกฎหมายหลักใหญ่ ๆ ก็ยังใช้วิธีจัดหาตามแนวทางเดิมของระเบียบสำนักนายกฯ พ.ศ. 2535  เพียงแต่มีการเพิ่มวิธีการจัดหาเพิ่มขึ้น และอาจปรับปรุงการจัดหา “แบบวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์” ให้กลับเข้ามาอยู่ในระเบียบสำนักนายกฯ พ.ศ. 2535 เพื่อให้แนวทางปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
                                เพื่อให้เป็นหนังสือและคำบรรยายที่สมบูรณ์มากขึ้น ผู้เขียนได้เขียนถึงบางเรื่องที่นำมาประกอบกับการใช้ระเบียบนี้ เช่น แนวปฏิบัติ “ผลประโยชน์ร่วมกัน”  “ปัญหาการทิ้งงาน”  “กิจการร่วมค้า Joint venture” และ “Consortium” “ปัญหาการจ่ายเงินค่า Overhead Mobilization  over run และ under run “สัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (เทอร์นคีย์ Turnkey) เป็นต้น เพื่อให้ความรู้และประสบการณ์เป็นวิทยาทานโดยราคาย่อมเยา  หวังว่าท่านสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเป็นธรรม คุ้มค่าการใช้จ่ายเงิน (Value for Money) ความโปร่งใส (Transparency) และความรับผิดชอบ (Accountability) หากผิดพลาดบกพร่องประการใด ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบและโปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบด้วย เพื่อแก้ไขต่อไป                จักขอบคุณยิ่ง
 
                                                                                                                                                  บรม  ศรีสุข
                                                                                                                                             (นายบรม  ศรีสุข)
                                                                                                                                                 อัยการอาวุโส
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :